วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

:: ความแปรผันทางพันธุกรรม ::

   สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในสปีชีส์เดียวกัน ย่อมมีลักษณะทางพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกันมากกว่าสิ่งมีชีวิต
ต่างสปีชีส์กันหรือสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีความแตกต่างกันน้อยกว่า
สิ่งมีชีวิต ต่างชนิดกัน ความแตกต่างอันเนื่องจากมีลักษณะพันธุการรมแตกต่างกัน เรียกว่า
ความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variation)


ความแปรผันลักษณะทางพันธุกรรมสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท
   1. ความแปรผันลักษณะทางพันธุกรรม ที่ไม่ต่อเนื่อง (discontinuous variation)
   2. ความผันแปรทางพันธุกรรมแบบต่อเนื่อง (continuous variation)

1. ความแปรผันลักษณะทางพันธุกรรม ที่ไม่ต่อเนื่อง (discontinuous variation) 
    เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจนเกิดจากอิทธิพลของ
กรรมพันธุ์เพียงอย่างเดียว เช่น  มีลักยิ้ม-ไม่มีลักยิ้ม   มีติ่งหู-ไม่มีติ่งหู    ห่อลิ้นได้-ห่อลิ้นไม่ได้


มีติ่งหู-ไม่มีติ่งห ห่อลิ้นได้-ห่อลิ้นไม่ได้
มีติ่งหู-ไม่มีติ่งหู ห่อลิ้นได้-ห่อลิ้นไม่ได้
2. ความผันแปรทางพันธุกรรมแบบต่อเนื่อง (continuous variation)
          เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถแยกความแตกต่าง
ได้อย่างเด่นชัด เช่น ความสูง น้ำหนัก โครงร่าง สีผิว ซึ่งเกิดจาก
อิทธิพลของกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน เช่น ความสูง ถ้าได้
รับสารอาหารถูกต้องตามหลักโภชนาการ  และมีการ ออก กำลังกาย
ก็จะทำให้มีร่างกายสูงได้ 
 
         สีผิวดำ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น