วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สารพันธุกรรม

สารพันธุกรรม

   :: Deoxyribonucleic acid (DNA) ::

     เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก ซึ่งเป็นกรด
นิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน
สัตว์  พืช  เชื้อรา  แบคทีเรีย  ไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น
ไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยัง
สิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน

     ดีเอ็นเอมีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัว ขาของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของ
นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) นิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาล  ฟอสเฟต (ซึ่งประกอบ
ด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และเบส (ด่าง) นิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน(adenine: A)
ไทมีน (thymine:T)  ไซโทซีน (cytosine:C)  และกัวนีน (guanine:G) ขาของบันไดสองข้างหรือ
นิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T  และ C จะเชื่อมกับ G เท่านั้น (ในกรณีของ
ดีเอ็นเอ)    และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ    เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสใน
ดีเอ็นเอนั่นเอง

     ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ คือ ฟรีดริช มีเชอร์ ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ไม่ทราบว่ามีโครงสร้าง
อย่างไร จนในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก เป็นผู้ไขความลับ
โครงสร้างของดีเอ็นเอ และนั่นนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ


  ข้อสรุปเกี่ยวกับ DNA ดังนี้

  • องค์ประกอบเบสของ DNA จากสิ่งมีชีวิตต่างชนิดจะแตกต่างกัน
  • องค์ประกอบเบสของ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะเหมือนกัน แม้ว่าจะนำมาจากเนื้อเยื่อต่างกันก็ตาม
  • องค์ประกอบเบสของ DNA ในสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมีความคงที่ ไม่แปรผันตามอายุ อาหาร หรือสิ่งแวดล้อม
  • ใน DNA ไม่ว่าจะนำมาจากแหล่งใดก็ตาม จะพบ A=T , C=G หรือ purine = pyrimidine เสมอ 
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น